เคยเป็น “นักอยากเขียน” มานาน แต่หลังจากที่เขียนและแปลหนังสือมาเกือบ 30 เล่ม ออกจากงานประจำจนจวนจะครบ 3 ปีแล้วในต้นปีหน้า ตอนนี้ก็เรียกตัวเองว่า “นักเขียน” อย่างเต็มปากเต็มคำแล้ว ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้เรียนรู้อะไรๆ มากมายจากการเป็น “นักเขียนอาชีพ” ก็เลยมาจดกันลืมไว้ในบล็อกนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นค่ะ โดยเฉพาะ “นักอยากเขียน” ที่บังเอิญมาอ่าน ถ้าไม่จดในนี้เดี๋ยวมันจะหายไปกับคำบ่นทีละ 140 ตัวอักษรในทวิตเตอร์ (ซึ่งยืนยันได้เลยว่ามีส่วนทำให้นักเขียนเสียสมาธิอย่างรุนแรง) 🙂
– “บทเรียน” ที่สำคัญที่สุดในชีวิต ล้วนเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ทีหลัง ไม่ใช่ได้รู้ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บทเรียนนั้นเป็นประโยชน์ พูดอีกอย่างคือ “เจ็บแล้วจึงจำ” ไม่ใช่ “จำแล้วจึงไม่เจ็บ” เพราะกรณีหลังเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากคนเรามักจะ “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”
– “ความมั่นคงในชีวิต” เป็นสิ่งที่เราแต่ละคนสร้างเองได้จริงๆ (ประโยคเก่งของคุณเก่ง ผู้ก่อตั้งโอเพ่นดรีม) หัวใจของเรื่องนี้คือ การสร้างความมั่นคงด้วยตัวเองต้องเริ่มจากความกล้าที่จะปฏิเสธความมั่นคงที่คนอื่นสร้างให้เรามาตลอด ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ นายจ้าง ฯลฯ (นับเป็น paradox ที่น่าสนใจ คล้ายกับที่ใครบางคนบอกว่า จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของความสุข คือการเลิกแสวงหาความสุข)
– สิ่งที่ทำให้มองเห็นขอบเขตของสิ่งที่ตัวเอง “รู้” และ “ไม่รู้” ชัดเจนที่สุด คือเวลาที่พยายามเขียนเรื่องยากๆ ให้อ่านง่าย แล้วมีคนอ่านมาบอกว่า สิ่งที่เราเขียนทำให้เขาได้เริ่มเข้าใจเรื่องนั้นเป็นครั้งแรก ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าถ้าไม่เขียนหนังสือ ก็จะไม่มีวันมองเห็นอย่างชัดเจนว่าตกลงเรา “สนใจอะไร” และ “รู้อะไร” กันแน่ และจะไม่เคยขวนขวายอยากไป “รู้เพิ่ม” เพื่อนำมาเขียน และถ้าไม่เคยพูดคุยกับคนอ่านที่ไม่ชินกับเรื่องที่เราเขียน ก็จะไม่มีวันรู้ว่า ไอ้ที่คิดว่าเรา “รู้” นั้น ที่แท้นี่มัน “รู้จริง” มากน้อยแค่ไหน
– แต่การมองเห็นว่าเรารู้อะไรแค่ไหน ไม่ได้แปลว่าคนอ่านจะมองเห็นเหมือนกัน – คนอ่านมักจะคิดว่านักเขียน “รู้” อะไรๆ มากกว่าที่นักเขียน “รู้” จริงๆ คือบางทีเราก็เขียนทั้งหมดเท่าที่เรารู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แต่คนอ่านนึกว่าเรากั๊กความรู้ไว้อีกเยอะที่ไม่ได้เขียนถึง ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายข้อสำคัญของการพยายามเป็นนักเขียนที่ไม่หลงตัวเองคือ การกดอัตตาไม่ให้มันลอยฟูขึ้นมาเวลาที่มีคนชม ด้วยการเตือนสติตัวเองอยู่เสมอว่า ณ ขณะนี้เรารู้และไม่รู้อะไรบ้าง (คิดว่าคนเป็นอาจารย์ก็มีความท้าทายคล้ายกัน)
เคยเป็น “นักอยากเขียน” มานาน แต่หลังจากที่เขียนและแปลหนังสือมาเกือบ 30 เล่ม ออกจากงานประจำจนจวนจะครบ 3 ปีแล้วในต้นปีหน้า ตอนนี้ก็เรียกตัวเองว่า “นักเขียน” อย่างเต็มปากเต็มคำแล้ว ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้เรียนรู้อะไรๆ มากมายจากการเป็น “นักเขียนอาชีพ” ก็เลยมาจดกันลืมไว้ในบล็อกนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นค่ะ โดยเฉพาะ “นักอยากเขียน” ที่บังเอิญมาอ่าน ถ้าไม่จดในนี้เดี๋ยวมันจะหายไปกับคำบ่นทีละ 140 ตัวอักษรในทวิตเตอร์ (ซึ่งยืนยันได้เลยว่ามีส่วนทำให้นักเขียนเสียสมาธิอย่างรุนแรง) 🙂
– “บทเรียน” ที่สำคัญที่สุดในชีวิต ล้วนเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ทีหลัง ไม่ใช่ได้รู้ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บทเรียนนั้นเป็นประโยชน์ พูดอีกอย่างคือ “เจ็บแล้วจึงจำ” ไม่ใช่ “จำแล้วจึงไม่เจ็บ” เพราะกรณีหลังเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากคนเรามักจะ “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”
– “ความมั่นคงในชีวิต” เป็นสิ่งที่เราแต่ละคนสร้างเองได้จริงๆ (ประโยคเก่งของคุณเก่ง ผู้ก่อตั้งโอเพ่นดรีม) หัวใจของเรื่องนี้คือ การสร้างความมั่นคงด้วยตัวเองต้องเริ่มจากความกล้าที่จะปฏิเสธความมั่นคงที่คนอื่นสร้างให้เรามาตลอด ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ นายจ้าง ฯลฯ (นับเป็น paradox ที่น่าสนใจ คล้ายกับที่ใครบางคนบอกว่า จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของความสุข คือการเลิกแสวงหาความสุข)
– สิ่งที่ทำให้มองเห็นขอบเขตของสิ่งที่ตัวเอง “รู้” และ “ไม่รู้” ชัดเจนที่สุด คือเวลาที่พยายามเขียนเรื่องยากๆ ให้อ่านง่าย แล้วมีคนอ่านมาบอกว่า สิ่งที่เราเขียนทำให้เขาได้เริ่มเข้าใจเรื่องนั้นเป็นครั้งแรก ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าถ้าไม่เขียนหนังสือ ก็จะไม่มีวันมองเห็นอย่างชัดเจนว่าตกลงเรา “สนใจอะไร” และ “รู้อะไร” กันแน่ และจะไม่เคยขวนขวายอยากไป “รู้เพิ่ม” เพื่อนำมาเขียน และถ้าไม่เคยพูดคุยกับคนอ่านที่ไม่ชินกับเรื่องที่เราเขียน ก็จะไม่มีวันรู้ว่า ไอ้ที่คิดว่าเรา “รู้” นั้น ที่แท้นี่มัน “รู้จริง” มากน้อยแค่ไหน
– แต่การมองเห็นว่าเรารู้อะไรแค่ไหน ไม่ได้แปลว่าคนอ่านจะมองเห็นเหมือนกัน – คนอ่านมักจะคิดว่านักเขียน “รู้” อะไรๆ มากกว่าที่นักเขียน “รู้” จริงๆ คือบางทีเราก็เขียนทั้งหมดเท่าที่เรารู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แต่คนอ่านนึกว่าเรากั๊กความรู้ไว้อีกเยอะที่ไม่ได้เขียนถึง ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายข้อสำคัญของการพยายามเป็นนักเขียนที่ไม่หลงตัวเองคือ การกดอัตตาไม่ให้มันลอยฟูขึ้นมาเวลาที่มีคนชม ด้วยการเตือนสติตัวเองอยู่เสมอว่า ณ ขณะนี้เรารู้และไม่รู้อะไรบ้าง (คิดว่าคนเป็นอาจารย์ก็มีความท้าทายคล้ายกัน)
– สิ่งที่ สตีฟ จอบส์ พูด เกี่ยวกับการเชื่อมจุด (“ไม่มีใครสามารถเชื่อมจุดจากปัจจุบันไปยังอนาคตได้ – เราทำได้เพียงเชื่อมจากปัจจุบันไปหาอดีตเท่านั้น เพราะฉะนั้นน้องๆ ต้องมั่นใจว่าอะไรที่ทำอยู่ตอนนี้จะเชื่อมไปเองในอนาคต”) นั้นจริงแท้แน่นอน สามสิบสองปีแรกของชีวิตไม่เคยคิดมาก่อนว่าชาตินี้จะมาเป็นนักเขียน แต่พอเป็นนักเขียนแล้วก็รู้สึกโชคดีที่ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก และเป็นนักการเงินก่อนมาเป็นนักเขียน เพราะความเป็นหนอนหนังสือทำให้รู้ว่า “ยอดเขา” (นักเขียนเก่งๆ) อยู่ตรงไหน จะได้รู้ว่าต้องพัฒนาอีกแค่ไหน (แม้ว่าอาจไม่มีวันปีนถึงยอด ปีนอย่างเดียวก็สนุกแล้ว) ส่วนประสบการณ์ในโลกการเงินก็ทำให้เขียนอะไรๆ ได้หลายเรื่องโดยไม่ต้องคิดว่าจะมีใครเขียนถึงไปแล้วหรือยัง เพราะยังไม่ค่อยมีนักการเงินข้ามฟากมาเป็นนักเขียน (เรื่องนี้สักวันหนึ่งจะเขียนถึง :))
– อยากเขกหัวท่านเซอร์ วอลเตอร์ สก็อตต์ ผู้ประดิษฐ์คำว่า “freelance” เพราะมันทำให้ 99% ของคนแปลกหน้าที่ได้พบกันครั้งแรกเข้าใจผิดว่า เราน่าจะ “ว่าง” แน่เลย เพราะเราเป็น “FREElance” ไร้สังกัดนี่นา หารู้ไม่ว่าความจริงอันโหดร้ายคือ freelance จำนวนมากยุ่งกว่าคนที่ทำงานประจำหลายเท่า เพราะถูกกดดันแกมขอร้องให้รับงานไม่หยุดหย่อน จากคนที่เข้าใจผิดแบบนี้นั่นแหละ
– เข้าใจแล้วที่ สตีเฟน ลีห์ พูดว่า “เธออาจหยุดพักการเขียนหนังสือได้ชั่วคราว แต่เธอไม่มีทางหยุดพักจากการเป็นนักเขียนได้” (You may be able to take a break from writing, but you won’t be able to take a break from being a writer.)