ภาษาวิบัติ 2548

แต่งกลอนสั้นบทนี้เพราะอยากสะท้อนค่านิยมไทย พ.ศ. 2548 โดยใช้คำน้อยทีสุดเท่าที่นึกได้

โกงคือเก่งเบ่งคือกล้าช้าคือโง่
ซื้อเพื่อโชว์โก้เพื่อคุยคุ้ยเพื่อเผา
จนเพราะซื่อตื้อเพราะคนล้นเพราะ”เอา”
เงินเป็นเจ้าเศร้าเป็นซวยสวยเป็นดี […]

แต่งกลอนสั้นบทนี้เพราะอยากสะท้อนค่านิยมไทย พ.ศ. 2548 โดยใช้คำน้อยทีสุดเท่าที่นึกได้

โกงคือเก่งเบ่งคือกล้าช้าคือโง่
ซื้อเพื่อโชว์โก้เพื่อคุยคุ้ยเพื่อเผา
จนเพราะซื่อตื้อเพราะคนล้นเพราะ”เอา”
เงินเป็นเจ้าเศร้าเป็นซวยสวยเป็นดี

  1. โกงคือเก่ง: เดี๋ยวนี้คติ “ทำดีได้ดี” ล้าสมัยแล้ว ต้องนี่ – “จับให้ได้ ไล่ให้ทัน ไม่งั้นกูไม่ผิด”
  2. เบ่งคือกล้า: “รู้หรือเปล่า กูลูกใคร/หลานใคร/รู้จักใคร” กลายเป็นประโยคศักดิ์สิืทธิ์ที่ทำให้คนไม่ต้องรับผิด แถมยังทำให้ตัวเองรู้สึกมีอำนาจ เพื่อนฝูงชื่นชมว่าเป็นผู้กล้่าเสียอีก
  3. ช้าคือโง่: สมัยนี้เวลาเป็นเงินเป็นทอง ใครที่ทำอะไรเชื่องช้ามักจะถูกมองว่าเป็นคนโง่ แม้ว่าเขาอาจเป็นคนฉลาดหลักแหลมที่ต้องการใช้เวลาไตร่ตรอง พิจารณาทุกด้านทุกมุมอย่างรอบคอบต่างหาก
  4. ซื้อเพื่อโชว์: เห็นหลายๆ คนซื้อของไปเพื่ออวดชาวบ้าน แล้วพ่อค้าก็ขยันผลิตสินค้าที่เน้นคุณสมบัติ “โชว์ดี” นี้ซะด้วย
  5. โก้เพื่อคุย: อันนี้คล้ายกับข้อบน แต่งตัวหรือวางท่าโก้เพื่อคุยทับชาวบ้าน
  6. คุ้ยเพื่อเผา: หลายๆ คนโดยเฉพาะนักการเมือง ขยันมากเวลาขุดคุ้ยความหลังชาวบ้านเพื่อเอามา “เผา” ในที่สาธารณะ แต่พอเวลาไม่เผาก็ไม่มีแรงบันดาลใจจะทำอะไร กลับเป็นคนขี้เกียจตามเดิม
  7. จนเพราะซื่อ: สมัยนี้ความจนแทบจะนับเป็นบาปชนิดหนึ่งอยู่รอมร่อ แลัวคนซื่อสัตย์โดยมากก็มักจะจนด้วย
  8. ตื้อเพราะคน: สภาพแออัดในเมือง ผู้คนขวักไขว่ไปมามากมายทำให้หลายๆ คนเกิดอาการมึนตื้อ เครียดโดยไม่รู้ตัว
  9. ล้นเพราะ”เอา”: ยิ่งอยากได้ก็ยิ่งจ่าย ยิ่งมียิ่งไม่พอ มีจนล้นแลัวก็ยังไ่ม่รู้สึก ทำให้คิดถึงคำพูดของหลวงปู่ดุลว่า “[คนนั้น] เขามีความไม่พอใจ ก็เพราะใจเขามีความไม่พอ”
  10. เงินเป็นเจ้า: อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไีร ความหมายชัดเจนในตัวอยู่แล้ว
  11. เศร้าเป็นซวย: ดูเหมือนความเศร้าจะกลายเป็นความซวยชนิดหนึ่ง เพราะสมัยนี้เป็น “ยุคทางลัด” หลายๆ คนที่รู้สึกไม่มีความสุข ก็หาทางไปสะเดาะเคราะห์หรือฟาดเคราะห์ แทนที่จะวิเคราะห์ว่าความเศร้านั้นเิกิดจากอะไรแล้วหาทางแก้ที่ต้นเหตุ เช่น อาจเกิดจากความโลภไม่รู้จักพอก็ได้
  12. สวยเป็นดี: อะไรๆ ที่ “ดูดี” ก็มักทำให้คนคิดว่า “ดีจริง” ไปด้วย แล้วก็เลยไม่มองลึกลงไปมากกว่านั้น