มองวิทยาศาสตร์และสังคมไทยผ่าน Brave New World – โลกใหม่อันกล้าหาญ หรือโลกเก่าอันดักดาน?

เขียนบทความชิ้นนี้เมื่อต้นปีที่แล้ว ก่อนเหตุการณ์ “เมษาเลือด” และ “พฤษภาเลือด” ในปีนี้ ก่อน พ.ร.ก. ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ก่อนมหกรรมการปิดกั้นเว็บไซต์ขนานใหญ่ของรัฐ ฯลฯ แต่ถ้าเติมเหตุการณ์เหล่านี้ลงไปในบทความ คิดว่าเนื้อหาและประเด็นหลักก็จะยังคงเดิม

เขียนให้กับวารสารฉบับหนึ่งที่หยุดชะงักไป จึงไม่เคยได้ตีพิมพ์ ผ่านไปเกือบ 2 ปี เลยคิดว่าน่าจะเอามาเผยแพร่ในบล็อก เผื่อใครจะสนใจค่ะ

มองวิทยาศาสตร์และสังคมไทยผ่าน Brave New World – โลกใหม่อันกล้าหาญ หรือโลกเก่าอันดักดาน?
สฤณี อาชวานันทกุล
31 มกราคม 2552

ในบรรดาวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่า “คลาสสิก” ไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะในหมู่นักอ่านช่างสงสัยที่ตั้งคำถามต่อโครงสร้างอำนาจที่เป็นอยู่ในสังคม (status quo) นวนิยายเรื่อง Brave New World (“โลกใหม่อันกล้าหาญ” หรือชื่อฉบับแปลไทย “โลกวิไลซ์” หรือที่แฟนพันธุ์แท้ย่อจนติดปากว่า BNW) ผลงานของ อัลดัส ฮักซเลย์ (Aldous Huxley) เป็นหนึ่งในนวนิยายแนว “ดิสโทเปีย” (dystopia หรือที่บางคนเรียกให้ชัดกว่านั้นว่า anti-utopia หรือ negative utopia) ที่มีคนที่รู้จักมากที่สุดในโลก และเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ในการเขียนนิยายชิ้นเอกเรื่อง 1984

บทความชิ้นนี้มุ่งเปรียบเทียบ BNW กับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และสังคมไทย เพื่ออธิบายว่าเหตุใด BNW จึงเป็นนิยายที่จะ “ล้ำสมัย” ขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับ 1984 ซึ่งนับวันยิ่งจะ “ล้าสมัย” ลงเรื่อยๆ และเหตุใดความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นนำไทยส่วนใหญ่ ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน จึงมีส่วนคล้ายกับรัฐโลกใน BNW อย่างน่าอัศจรรย์ แต่วิธีการควบคุมของชนชั้นนำไทยนั้นแนบเนียนและแยบยลกว่ากันหลายขุม

โลกใหม่อันกล้าหาญ?

โลกอนาคตใน BNW คือโลกที่ไม่แบ่งแยกออกเป็นประเทศต่างๆ อีกต่อไป มี “รัฐโลก” (World State) เป็นรัฐบาลเพียงหนึ่งเดียวที่ปกครองคนทั้งโลก ประชากรโลกแบ่งออกเป็นชนชั้นตั้งแต่แรกเกิด เรียกตามตัวอักษรในภาษากรีก ตั้งแต่อัลฟาพลัส (ชนชั้นนำ) จนถึงเอ็พซิลอน (ชนชั้นแรงงานไร้ทักษะ) รัฐโลกใช้เทคโนโลยีสุพันธุศาสตร์ (eugenics หมายถึงการปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ให้ดีขึ้น ถ้าดัดแปลงพันธุกรรมให้แย่ลงจะเรียกว่า dysgenics) เพื่อ “สร้าง” ทารกแบบที่ต้องการ เช่น ผลิตแฝดเหมือนเก้าสิบหกคู่จากไข่ใบเดียวใน “กระบวนการโบคานอฟสกี” เพื่อเป็นชนชั้นแรงงาน และใช้กระบวนการควบคุมจิตใจ (social conditioning) เช่น เปิดเทปสะกดจิตทารกยามนอน และช็อตด้วยไฟฟ้า เพื่อ “กล่อม” ให้พวกเขามีความภาคภูมิใจและพอใจในชนชั้นของตัวเอง อยู่ในโอวาทของรัฐ รู้หน้าที่ของตัวเองในสังคม และปราศจากความทะยานอยากใดๆ ทั้งปวง


เขียนบทความชิ้นนี้เมื่อต้นปีที่แล้ว ก่อนเหตุการณ์ “เมษาเลือด” และ “พฤษภาเลือด” ในปีนี้ ก่อน พ.ร.ก. ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ก่อนมหกรรมการปิดกั้นเว็บไซต์ขนานใหญ่ของรัฐ ฯลฯ แต่ถ้าเติมเหตุการณ์เหล่านี้ลงไปในบทความ คิดว่าเนื้อหาและประเด็นหลักก็จะยังคงเดิม

เขียนให้กับวารสารฉบับหนึ่งที่หยุดชะงักไป จึงไม่เคยได้ตีพิมพ์ ผ่านไปเกือบ 2 ปี เลยคิดว่าน่าจะเอามาเผยแพร่ในบล็อก เผื่อใครจะสนใจค่ะ

มองวิทยาศาสตร์และสังคมไทยผ่าน Brave New World – โลกใหม่อันกล้าหาญ หรือโลกเก่าอันดักดาน?
สฤณี อาชวานันทกุล
31 มกราคม 2552

ในบรรดาวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่า “คลาสสิก” ไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะในหมู่นักอ่านช่างสงสัยที่ตั้งคำถามต่อโครงสร้างอำนาจที่เป็นอยู่ในสังคม (status quo) นวนิยายเรื่อง Brave New World (“โลกใหม่อันกล้าหาญ” หรือชื่อฉบับแปลไทย “โลกวิไลซ์” หรือที่แฟนพันธุ์แท้ย่อจนติดปากว่า BNW) ผลงานของ อัลดัส ฮักซเลย์ (Aldous Huxley) เป็นหนึ่งในนวนิยายแนว “ดิสโทเปีย” (dystopia หรือที่บางคนเรียกให้ชัดกว่านั้นว่า anti-utopia หรือ negative utopia) ที่มีคนที่รู้จักมากที่สุดในโลก และเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ในการเขียนนิยายชิ้นเอกเรื่อง 1984

บทความชิ้นนี้มุ่งเปรียบเทียบ BNW กับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และสังคมไทย เพื่ออธิบายว่าเหตุใด BNW จึงเป็นนิยายที่จะ “ล้ำสมัย” ขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับ 1984 ซึ่งนับวันยิ่งจะ “ล้าสมัย” ลงเรื่อยๆ และเหตุใดความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นนำไทยส่วนใหญ่ ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน จึงมีส่วนคล้ายกับรัฐโลกใน BNW อย่างน่าอัศจรรย์ แต่วิธีการควบคุมของชนชั้นนำไทยนั้นแนบเนียนและแยบยลกว่ากันหลายขุม

โลกใหม่อันกล้าหาญ?

โลกอนาคตใน BNW คือโลกที่ไม่แบ่งแยกออกเป็นประเทศต่างๆ อีกต่อไป มี “รัฐโลก” (World State) เป็นรัฐบาลเพียงหนึ่งเดียวที่ปกครองคนทั้งโลก ประชากรโลกแบ่งออกเป็นชนชั้นตั้งแต่แรกเกิด เรียกตามตัวอักษรในภาษากรีก ตั้งแต่อัลฟาพลัส (ชนชั้นนำ) จนถึงเอ็พซิลอน (ชนชั้นแรงงานไร้ทักษะ) รัฐโลกใช้เทคโนโลยีสุพันธุศาสตร์ (eugenics หมายถึงการปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ให้ดีขึ้น ถ้าดัดแปลงพันธุกรรมให้แย่ลงจะเรียกว่า dysgenics) เพื่อ “สร้าง” ทารกแบบที่ต้องการ เช่น ผลิตแฝดเหมือนเก้าสิบหกคู่จากไข่ใบเดียวใน “กระบวนการโบคานอฟสกี” เพื่อเป็นชนชั้นแรงงาน และใช้กระบวนการควบคุมจิตใจ (social conditioning) เช่น เปิดเทปสะกดจิตทารกยามนอน และช็อตด้วยไฟฟ้า เพื่อ “กล่อม” ให้พวกเขามีความภาคภูมิใจและพอใจในชนชั้นของตัวเอง อยู่ในโอวาทของรัฐ รู้หน้าที่ของตัวเองในสังคม และปราศจากความทะยานอยากใดๆ ทั้งปวง

ถึงแม้ว่ารัฐโลกใน BNW จะใช้กระบวนการสุพันธุศาสตร์และการควบคุมจิตใจในวัยทารกอย่างเข้มข้น ลำพังวิทยาศาสตร์สองแขนงนี้ก็ไม่อาจการันตีได้ว่าประชาชนทุกคนเมื่อโตขึ้นแล้วจะเชื่อฟังรัฐและมีความสุขตลอดเวลา ดังนั้นรัฐจึงใช้วิธีการอื่นๆ อีกมากมายเพื่อสร้าง “ความสุข” แบบปรนเปรอฉาบฉวยไม่ต่างจากการดื่มสุราเพื่อลืมทุกข์ชั่วคราวในโลกของเรา เช่น กำหนดให้ประชาชนทุกคนเสพยาเสพติดที่เรียกว่า โซมา (soma) ทุกวัน โซมาออกฤทธิ์คล้ายยากระตุ้นประสาทแบบยาอี แต่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าวันใดประชาชนเกิดรู้สึกเบื่อหน่าย ตื่นตระหนก หรือไม่สบายใจเพราะอะไรก็แล้วแต่ พวกเขาก็เพียงแต่ต้องเสพโซมามากกว่าปกติ แล้วจะรู้สึกดีเหมือนเดิม

นอกจากจะมีโซมาเป็น “ยาวิเศษ” ที่สกัดความทุกข์และสะกดให้มีความสุขแบบว่านอนสอนง่ายแล้ว ประชากรใน BNW ทุกชนชั้นยังสามารถเสพสื่อบันเทิงเสมือนจริงที่หลอกประสาทสัมผัสทั้งห้า เรียกว่า ฟีลี่ส์ (feelies) ไม่นับเกมกีฬานับไม่ถ้วนที่รัฐโลกเป็นผู้ผลิต คนจะได้เพลิดเพลินจนไม่มีเวลามาคิดถึงเรื่องไร้สาระอย่างเสรีภาพ จิตวิญญาณ หรืออารมณ์ปรวนแปรเพราะความรัก ซึ่งล้วนเป็นเรื่องส่วนตัว อาจทำให้คนเจ็บปวด และดังนั้นจึงภัยต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม

ในเมื่อโซมา ฟีลี่ส์ สุพันธุศาสตร์ และเทคนิคการควบคุมจิตใจนานัปการทำให้ประชาชนว่านอนสอนง่าย และในเมื่อรัฐโลกเป็นผู้ควบคุมการสืบพันธุ์ของมนุษยชาติ การมีเพศสัมพันธ์ใน BNW ก็เป็นเพียงความบันเทิงอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่มีใครรู้จักคำว่า “พ่อ” “แม่” “ครอบครัว” หรือ “ความรัก” รัฐโลกส่งเสริมให้หนุ่มสาวสลับคู่สวิงกิ้งไม่เลือกหน้า (เพราะ “ทุกคนเป็นของทุกคน”) และเสพสิ่งบันเทิงไม่สิ้นสุด ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นสิ่งบันเทิงที่ต้องใช้เงินซื้อ ระบอบเศรษฐกิจของโลกจะได้เจริญเติบโตไม่สิ้นสุด มหกรรมบริโภคนิยมใน BNW ไปไกลถึงขั้นเด็กทารกทุกคนถูกเปิดเทปกล่อมให้เชื่อว่า ซื้อของใหม่ดีกว่าซ่อมของเก่า

นอกจากนี้ รัฐโลกยังสั่งแบนหนังสือทุกประเภทเพราะมันอาจทำให้คนเริ่มคิดอะไรๆ ด้วยตัวเอง และเมื่อเริ่มคิดแล้วก็จะไขว้เขวไปจากตำแหน่งแห่งที่ของตนในสังคม สุ่มเสี่ยงว่าจะเป็นอันตรายต่อ “ความมั่นคง” และ “ระเบียบสังคม” ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของรัฐโลก และในเมื่อคนไม่รู้จักความทุกข์อีกต่อไป ศิลปะ จินตนาการ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ก็กลายเป็นส่วนเกินที่สูญพันธุ์และไร้ความหมาย ผู้คนใน BNW รู้จักแค่ความบันเทิงนานาชนิดที่รัฐผลิตมาป้อนให้กับพวกเขาเท่านั้นเอง

กล่าวโดยสรุปคือ โลกของ BNW เป็นโลกที่ทุกคนรู้ตำแหน่งแห่งที่ของตัวเองในสังคมอย่างชัดเจนและทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพราะถูกกำหนดมาแล้วตั้งแต่ก่อนเกิด “อัตลักษณ์” ของคนทุกคนเกิดจากความหมายที่สังคมมอบให้เท่านั้น ถ้าเจตจำนงของปัจเจกซึ่งอยู่ภายใต้ก้นบึ้งของจิตวิญญาณจะโผล่ขึ้นมาให้ใครรู้สึกระแคะระคายว่าชีวิตน่าจะมีอะไรมากกว่านี้หรือเปล่า การเสพโซมา ฟีลี่ส์ และสันทนาการร้อยแปด รวมทั้งแรงกดดันจากเพื่อนร่วมชนชั้นที่จะตราหน้าพฤติกรรมช่างสงสัยแบบนี้ทันทีว่า “เพี้ยน” และ “เห็นแก่ตัว” ก็จะช่วยระงับความรู้สึกนั้นได้อย่างชะงัด

แต่ไม่ว่า BNW จะเป็นยูโทเปียของผู้มีอำนาจเพียงใด มันก็เป็นได้แค่ดิสโทเปียสำหรับประชาชนที่ถูกกล่อมให้เชื่อว่าพวกเขา “เลือก” ที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ ไม่ต่างจากโลกเสมือนใน The Matrix ก่อนที่นีโอตื่นขึ้นมาพบกับความจริงหลังกลืนยาเม็ดแดง ทั้งนี้ เพราะฮักซเลย์เชื่อว่าความปรารถนาเสรีภาพที่จะใช้ชีวิตตามทางที่ตัวเองเลือกนั้น เป็น “สันดาน” ของมนุษย์ที่วิทยาศาสตร์ไม่อาจกำจัดได้ และการหาจุดสมดุลระหว่างความปรารถนาส่วนตัวกับภาระหน้าที่ทางสังคมนั้น ก็เป็นภาระส่วนตัวของปัจเจกแต่ละคนที่วิทยาศาสตร์ไม่อาจตัดสินให้ใคร

ฮักซเลย์บอกเราเป็นนัยผ่านความรู้สึกนึกคิดของตัวละครอย่างเบอร์นาร์ด นักจิตวิทยาชนชั้นอัลฟาที่อิจฉาจอห์น “คนป่า” (savage) ผู้เติบโตมาในวิถีชีวิตแบบโบราณนอกแดนศิวิไลซ์ และเป็นคนเดียวที่เกิดในท้องแม่ตามธรรมชาติ ความไม่สบายใจของเบอร์นาร์ดชวนให้เราเชื่อว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและบริโภคนิยมไร้วิญญาณไม่อาจชดเชยเสรีภาพ ความซื่อตรง และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ได้ ดังที่จอห์นโต้เถียงกับมุสตาฟา มอนด์ “ผู้คุมโลก” (World Controller) ภาคพื้นยุโรป ว่าเขาอยากได้เสรีภาพที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวแทนที่จะอยู่แบบมี “ความสุข” ในโลกศิวิไลซ์เพราะ “ผมไม่อยากได้ความสะดวกสบาย ผมอยากได้พระเจ้า ผมอยากได้บทกวี ผมอยากเสี่ยงอันตรายที่แท้จริง ผมอยากมีเสรีภาพ ผมอยากทำบุญ ผมอยากทำบาป”

ชีวิตที่แท้จริงในมุมมองของจอห์น ชีวิตแบบเดียวที่เขาเชื่อว่าคุ้มค่าแก่การใช้ คือชีวิตที่ต้องเปิดรับทั้งสุขและทุกข์ ความสมหวังและผิดหวัง “ความสุขที่แท้จริง” ของมนุษย์ไม่ใช่ภาวะเบิกบานชั่วคราวที่ปลอดจากความเจ็บปวด หากแต่เป็นความสุขลึกๆ ที่ได้ “ใช้” ชีวิตตามเจตจำนงของตัวเอง

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การมีเสรีภาพคือความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ และในทางกลับกัน ภาวะไร้เสรีภาพทำให้มนุษย์มีความทุกข์ในก้นบึ้งของจิตใจ เป็นทุกข์ทางจิตวิญญาณที่โซมาไม่อาจกำจัดได้

ถ้าความทุกข์ ความสับสนอลหม่าน และความเจ็บปวดล้วนเป็น “ความจริงของชีวิต” ที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงแล้วไซร้ มนุษย์ก็ต้องเลือกระหว่างโลกที่มนุษย์มีเสรีภาพแต่ต้องเผชิญกับความจริงอันโหดร้าย กับโลกที่มนุษย์ไร้เสรีภาพแต่มีความสุขสีเทาๆ ที่ไม่เร้าใจแต่ก็ไม่ถึงขั้นโศกสลด วิทยาศาสตร์ไม่อาจสร้างโลกที่มนุษย์มีทั้งเสรีภาพที่แท้จริง และสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อยไปพร้อมกัน ความเป็นไปไม่ได้ข้อนี้ถูกตอกย้ำอย่างลืมไม่ลงในไคลแมกซ์ของ BNW เมื่อจอห์น “คนป่า” ผู้เกลียดชังดิสโทเปีย ตัดสินใจฆ่าตัวตายจากความรู้สึกเศร้าโศกและผิดบาปที่ยอมตกเป็นทาสของโซมาจนทำร้ายและมีเซ็กซ์อย่างรุนแรงกับเลนินา หญิงสาวที่หลงรักเขาแต่เคยถูกปฏิเสธ ท่ามกลางเสียงเชียร์ของผู้คนและสื่อมวลชนที่เหยียดจอห์นว่าต่ำต้อยและต่ำช้ากว่าพวกเขา

หลังจากที่เขายืนหยัดต่อต้านความเสื่อมทรามและสำส่อนในดิสโทเปีย สุดท้ายจอห์นก็ทำตัวไม่ต่างจากคนอื่น เรื่องนี้ทำให้เขารับไม่ได้จนตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

กล่าวโดยสรุปคือ BNW สะท้อนความเชื่อของฮักซเลย์ว่า “ยูโทเปีย” ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ไม่ว่าวิทยาศาสตร์จะก้าวล้ำนำสมัยไปอีกมากเพียงใดในอนาคต

— ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม (12 หน้า) ได้จากที่นี่ [PDF]