เพิ่งกลับจากไปเที่ยวต่างประเทศเมื่อตอนเช้าตรู่ที่ผ่านมา กลับมาปุ๊บก็เจอท้องฟ้าสีเทาหม่นของกรุงเทพฯ และบรรยากาศการเมืองที่ขมุกขมัวยิ่งกว่า ทำให้นึกอยากกลับไปเดินเล่นที่ Provence อีกรอบ แ่ต่ต้องทำใจ เพราะถึงอย่างไรก็หนีความจริงไปไม่พ้น แถมยังทนคิดถึงก๋วยเตี๋ยวหมู ข้าวผัดแหนม และซุปหน่อไม้ไม่ได้นาน 🙂
เมื่อประมาณสิบวันก่อน บล็อกนี้ถูกกูเิกิ้ลลบออกจากสารบบ search engine เพราะมี spam แทรกเข้ามาในหน้า index ทำให้ตอนนี้ถ้าใครไปกูเกิ้ลคำว่า “คนชายขอบ” หรือคำอื่นๆ ที่มีในบล็อกนี้ กูเกิ้ลจะไม่แสดงผล 🙁 ผู้เขียนกำจัดแสปมทั้งหลายและเขียนไปขอให้กูเิกิ้ลลิสต์บล็อกนี้ใหม่ อีกไม่เกินหนึ่งเดือนคงค้นเจอในกูเกิ้ลเหมือนเดิม
เมื่อไหร่ที่มีเวลาหายใจจากงานทั้งหลายที่ต้องทำตามสัญญา้จ้างและสัญญาใจ ผู้เขียนจะทยอยเขียนเล่าเรื่องความประทับใจจากการไปเที่ยวครั้งนี้ โดยเฉพาะ Provence (รัฐทางตอนใต้ของฝรั่งเศส) ออกมาเป็นหนังสือ เพราะถ้าไม่ได้ไปเห็นกับตา ผู้เขียนก็คงยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดเหล่าจิตรกร Impressionists สมัยร้อยปีก่อน จึงได้ชอบไปอาศัยอยู่ทางนั้นกันนักหนา ระหว่างนี้ถ้าใครสนใจ ขอเชิญชมบางรูปที่ไปถ่ายมาไปพลางๆ ก่อนเช่นเคยค่ะ 🙂
ดูีรูปทั้งหมดที่ถ่าย ตั้งแ่ต่งานรับปริญญาที่อเมริกาจนถึงฝรั่งเศส ได้ที่ Flickr ลิ้งก์ต่อไปนี้ (เรียงจากใหม่สุดไปหาเก่าสุด):
- “The Palette of Provence, Paris & Giverny” – รูปจากฝรั่งเศสที่ผู้เขียนชอบที่สุด 130+ ใบ (คัดจากเกือบแปดร้อยใบ ตาลายไปเลย)
- พิพิธภัณฑ์ Louvre, Guimet และ Rodin
- พิพิธภัณฑ์ L’Orangerie และบ้านโมเนต์ที่ Giverny
- ปารีส – โรงแรม ท้องฟ้า อาหาร และร้านค้า
- Flickr Collection รวมเซ็ตที่ถ่ายใน Provence ทั้งหมด
- ชมพูและม่วงใน Provence (เลือกมาจาก collection ข้างบน)
- ศิลปะของอาหารฝรั่งเศส (เลือกมาจาก collection ข้างบน)
- พิพิธภัณฑ์ Newseum ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
- พิพิธภัณฑ์ Museum of Fine Arts ในบอสตัน
- Harvard Square & Cambridge
- วันรับปริญญาของ Harvard ประจำปี 2008
รูปทั้งหมดพยายามทยอยใส่ชื่อและคำอธิบายอยู่ คงอีกหลายวันกว่าจะเสร็จ
เขตเมืองเก่าในกรุง Lyon (Vieux Lyon)
เพิ่งกลับจากไปเที่ยวต่างประเทศเมื่อตอนเช้าตรู่ที่ผ่านมา กลับมาปุ๊บก็เจอท้องฟ้าสีเทาหม่นของกรุงเทพฯ และบรรยากาศการเมืองที่ขมุกขมัวยิ่งกว่า ทำให้นึกอยากกลับไปเดินเล่นที่ Provence อีกรอบ แ่ต่ต้องทำใจ เพราะถึงอย่างไรก็หนีความจริงไปไม่พ้น แถมยังทนคิดถึงก๋วยเตี๋ยวหมู ข้าวผัดแหนม และซุปหน่อไม้ไม่ได้นาน 🙂
เมื่อประมาณสิบวันก่อน บล็อกนี้ถูกกูเิกิ้ลลบออกจากสารบบ search engine เพราะมี spam แทรกเข้ามาในหน้า index ทำให้ตอนนี้ถ้าใครไปกูเกิ้ลคำว่า “คนชายขอบ” หรือคำอื่นๆ ที่มีในบล็อกนี้ กูเกิ้ลจะไม่แสดงผล 🙁 ผู้เขียนกำจัดแสปมทั้งหลายและเขียนไปขอให้กูเิกิ้ลลิสต์บล็อกนี้ใหม่ อีกไม่เกินหนึ่งเดือนคงค้นเจอในกูเกิ้ลเหมือนเดิม
เมื่อไหร่ที่มีเวลาหายใจจากงานทั้งหลายที่ต้องทำตามสัญญา้จ้างและสัญญาใจ ผู้เขียนจะทยอยเขียนเล่าเรื่องความประทับใจจากการไปเที่ยวครั้งนี้ โดยเฉพาะ Provence (รัฐทางตอนใต้ของฝรั่งเศส) ออกมาเป็นหนังสือ เพราะถ้าไม่ได้ไปเห็นกับตา ผู้เขียนก็คงยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดเหล่าจิตรกร Impressionists สมัยร้อยปีก่อน จึงได้ชอบไปอาศัยอยู่ทางนั้นกันนักหนา ระหว่างนี้ถ้าใครสนใจ ขอเชิญชมบางรูปที่ไปถ่ายมาไปพลางๆ ก่อนเช่นเคยค่ะ 🙂
ดูีรูปทั้งหมดที่ถ่าย ตั้งแ่ต่งานรับปริญญาที่อเมริกาจนถึงฝรั่งเศส ได้ที่ Flickr ลิ้งก์ต่อไปนี้ (เรียงจากใหม่สุดไปหาเก่าสุด):
- “The Palette of Provence, Paris & Giverny” – รูปจากฝรั่งเศสที่ผู้เขียนชอบที่สุด 130+ ใบ (คัดจากเกือบแปดร้อยใบ ตาลายไปเลย)
- พิพิธภัณฑ์ Louvre, Guimet และ Rodin
- พิพิธภัณฑ์ L’Orangerie และบ้านโมเนต์ที่ Giverny
- ปารีส – โรงแรม ท้องฟ้า อาหาร และร้านค้า
- Flickr Collection รวมเซ็ตที่ถ่ายใน Provence ทั้งหมด
- ชมพูและม่วงใน Provence (เลือกมาจาก collection ข้างบน)
- ศิลปะของอาหารฝรั่งเศส (เลือกมาจาก collection ข้างบน)
- พิพิธภัณฑ์ Newseum ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
- พิพิธภัณฑ์ Museum of Fine Arts ในบอสตัน
- Harvard Square & Cambridge
- วันรับปริญญาของ Harvard ประจำปี 2008
รูปทั้งหมดพยายามทยอยใส่ชื่อและคำอธิบายอยู่ คงอีกหลายวันกว่าจะเสร็จ
เขตเมืองเก่าในกรุง Lyon (Vieux Lyon)
อีกมุมหนึ่งของ Vieux Lyon
Pont du Gard สะพานส่งน้ำสมัยโรมันโบราณที่สูงที่สุดในโลก (50 เมตร)
Palais des Papes (วังของพระสันตปาปา) ยามค่ำคืน เมือง Avignon
บ้านในเมือง Arles สันนิษฐานว่าเป็นแฟนกีฬาสู้วัวกระทิง
สวนกลางโรงพยาบาลที่แวนโก๊ะห์มานอนพักฟื้นหลังจากที่ตัดหูตัวเอง รักษาให้อยู่ในสภาพเหมือนกับภาพที่เขาวาด
สวนต้นอัลมอนด์และทุ่งข้าวสาลี สอง “พระเอก” ในภาพวาดของแวนโก๊ะห์นอกเหนือจากต้นสนไซเปรส รูปนี้ถ่ายจากบน Montmajour Abbey วัดที่แวนโก๊ะห์ชอบมานั่งวาดรูปและครุ่นคิด
วิวจากหน้าต่างห้องนอนของแวนโก๊ะห์ใน Saint-Paul-de-Mausole โรงพยาบาลบ้าใน Saint-Rémy ที่เขามารักษาตัว ปัจจุบันเก็บรักษาทุ่งข้าวสาลีไว้เป็นอนุสรณ์แด่คนไข้ผู้เป็นที่รัก ปลูกดอก iris และ poppy ไว้เอาใจแฟนๆ ของเขา และปลูก lavender ไว้เอาใจนักท่องเที่ยวที่มาเยือน (ตอนเราไปยังไม่บานเต็มที่)
บ้านสีสวยใน Roussillon หมู่บ้านเล็กๆ ที่ผู้เขียนชอบที่สุดในบรรดาเมืองและหมู่บ้านทั้งหลายใน Provence ที่ไปเที่ยวคราวนี้ สีสันของผนัง-ประตู-หน้าต่างสวยเหมือนสีเทียน แต่ใน Roussillon สีของผนังบ้านจะออกแดงสดกว่า จากสีของแร่ ochre ซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในโลก
ภูเขาแร่ ochre ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน Roussillon
ภาพวาดแอฟริกันในตลาดเมือง Apt ส่วนใหญ่มาจากประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส เช่น โมร็อกโก อัลจีเรีย เซเนกัล กานา ไนจีเรีย แกมเบีย ฯลฯ
ระหว่างขับรถเที่ยวใน Provence เราก็พยายามมองหาทุ่ง lavender สีม่วงสวยเหมือนอย่างในโปสเตอร์ L’Occitane แต่ช่วงที่เราไปเที่ยวดอก lavender ยังไม่บานเต็มที่ จะบานจริงๆ ก็ประมาณกลางเดือนหน้า (ก.ค.) แต่เราก็ได้เห็นทุ่งดอกไม้อื่นๆ ที่สวยไม่แพ้กัน เช่นดอก poppy สีแดงสด รูปนี้ถ่ายใกล้เมือง Rustrel
ถึงแม้ว่าดอก lavender จะยังไม่บานเต็มที่ ทุ่งดอก lavandin (ญาติของ lavender สีม่วงอ่อนกว่า) ก็สวยเหมือนกัน ผู้เขียนชอบดอกนี้มากกว่าเพราะสีม่วงครามดู “เย็นตา” กว่า lavender
หลังจากที่ล้มเลิกความตั้งใจ โชคก็เข้าข้างเมื่อเราขับรถหลงทางเล็กน้อย มาเจอพุ่ม lavender บานเต็มที่โดยบังเิอิญอยู่ข้างทางพอดี ถึงแบ็คกราวน์ด์จะเป็นสุสานก็ไม่มีใครสนใจ ลงไปยืนในคูถ่ายรูปกันยกใหญ่ 🙂
หนึ่งในภาพวาด “Nympheas” (waterlilies) ขนาดยักษ์ของโมเนต์ ที่พิพิธภัณฑ์ L’Orangerie ในกรุงปารีส ได้รับการปรับปรุงตกแต่งขนานใหญ่ ปรับแสงและอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับสวนของโมเนต์ที่สุด ดูแล้วได้อารมณ์เหมือนกับไปเยือนสวนของเขาจริงๆ และถ้าดูนานๆ อาจจะเห็นกิ่งใบของต้นหลิวลู่ลมบนผิวน้ำที่กระเพื่อมเป็นระลอก
สระบัวในสวนน้ำของโมเนต์ที่บ้านของเขาในหมู่บ้าน Giverny สวยเกินคำบรรยาย
ท้องฟ้าในปารีสมักจะมีเมฆมากจนบดบังแสงอาทิตย์ ไม่เหมือนใน Provence แต่บางครั้ง ท้องฟ้ายามเย็นก็สวยราวกับออกมาจากปลายพู่กันของโมเนต์
ก่อนบินกลับกรุงเทพฯ เรามีเวลาแวะไปดูพิพิธภัณฑ์ Louvre, Guimet และ Rodin ลิงหน้าตาตลกสองตัวนี้อยู่บนหน้าบันเรื่องรามเกียรติ์ จากปราสาทในนครธม ความที่ฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคมเคยยืมแบบ “ไม่เคยคิดจะคืน” จากเขมรมาเยอะ พิพิธภัณฑ์ Guimet จึงได้ชื่อว่ามีคอลเลกชั่นศิลปะขอมที่สวยงามที่สุดนอกประเทศกัมพูชา