เลี้ยวซ้ายสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดย โจเซฟ สติกลิทซ์

แปลเล่นๆ ให้นักเรียนอ่าน และเผื่อใครสนใจเหตุผลที่ บารัก โอบามา น่าจะชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า (หมายถึงเหตุผลที่ “มีเหตุมีผล” ไม่ใช่ลมเพลมพัดตามอารมณ์ ณ คูหาเลือกตั้ง) 😉 น่าเสียดายที่เมืองไทยยังไม่มีนักคิด “ซ้ายใหม่” เท่าที่ควร ดูเหมือนว่าฝ่ายซ้ายจะมีแ่ต่นักคิด “ซ้ายเก่า” ประเภท “ซ้ายมีปม” ที่ยังไม่เข้าใจตลาดและเกลียดตลาดเสียเป็นส่วนใหญ่ (แต่จริงๆ แล้ว “ซ้าย” กับ “ขวา” ของแต่ละประเทศก็ไ่ม่ตรงกันเท่าไร และไม้บรรทัดก็เลื่อนไปมาตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ตอนนี้ “ซ้าย” กระแสหลักของอเมริกา (liberal แบบพรรคเดโมแครต) ในมุมมองของซ้ายเก่าในไทยคงบอกว่าเป็น “ขวา” เพราะของเราซ้ายกว่าของเขา ในขณะที่ “ขวา” ของเราตอนนี้ (ถ้ามองหยาบๆ ว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่ “คลั่งเจ้า” หรือไม่ก็ “โหนเจ้า”) ดูจะ “ขวาจัด” พอๆ กับขวาของบุชเลย)

เลี้ยวซ้ายสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
แปลจาก Turn Left for Sustainable Growth โดย โจเซฟ สติกลิทซ์ โดย สฤณี อาชวานันทกุล เชิงอรรถเพิ่มเติมโดยผู้แปล

ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาบอกว่าพวกเขาสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นแปลว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งควรมองการตัดสินใจเลือกระหว่างสองค่ายนี้ว่า เป็นเรื่องของการเลือกทีมผู้บริหารเท่านั้นหรือเปล่า?

ถ้าเรื่องจริงง่ายอย่างนั้นก็ดีสิ! ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเรื่องบทบาทของโชค เศรษฐกิจของอเมริกาในทศวรรษ 1990 โชคดีจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราการคิดค้นนวัตกรรมที่อยู่ในระดับสูง และประเทศจีนที่ผลิตสินค้าคุณภาพดีในราคาที่ต่ำลงเรื่อยๆ ปัจจัยเหล่านี้รวมกันส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง

อดีตประธานาธิบดีคลินตันและ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางไม่ควรได้รับเครดิตมากนักจากภาวะบูมช่วงนั้น ถึงแม้เราจะต้องยอมรับว่านโยบายแย่ๆ อาจรวนให้เศรษฐกิจปั่นป่วนได้ ในทางกลับกัน ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงานและอาหารที่อยู่ในระดับสูง และระบบการเงินที่กำลังพังทลาย ล้วนเป็นผลจากนโยบายแย่ๆ

แน่นอน กลยุทธ์ในการเติบโตมีมากมายหลากหลาย และความแตกต่างนั้นก็น่าจะทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ความแตกต่างประการแรกเป็นเรื่องของวิธีมองว่า “การเติบโต” หมายถึงอะไร การเติบโตไม่ใช่แค่เรื่องของการเพิ่มจีดีพีเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนด้วย การเติบโตที่ตั้งอยู่บนการทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม มหกรรมการบริโภคที่ใช้เงินกู้เป็นหลัก หรือการช่วงชิงฉกฉวยทรัพยากรธรรมชาติที่หายากโดยปราศจากการนำกำไรที่ได้กลับไปฟื้นฟูใหม่ ล้วนเป็นการเติบโตที่ไม่ยั่งยืนทั้งสิ้น

นอกจากนี้ การเติบโตจะต้องมีผู้ได้ประโยชน์ในฐานกว้างด้วย อย่างน้อยที่สุดพลเมืองส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์ แนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบไหลริน (trickle-down economics) นั้นใช้การไม่ได้ เพราะการเพิ่มขึ้นของจีดีพีอาจทำให้พลเมืองส่วนใหญ่มีชีวิตแย่ลงก็ได้ การเติบโตในช่วงเวลาไม่นานมานี้ของอเมริกาทั้งไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ทั้งไม่มีฐานกว้าง ชีวิตของคนอเมริกันส่วนใหญ่แย่ลงกว่าเมื่อเจ็ดปีก่อน


แปลเล่นๆ ให้นักเรียนอ่าน และเผื่อใครสนใจเหตุผลที่ บารัก โอบามา น่าจะชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า (หมายถึงเหตุผลที่ “มีเหตุมีผล” ไม่ใช่ลมเพลมพัดตามอารมณ์ ณ คูหาเลือกตั้ง) 😉 น่าเสียดายที่เมืองไทยยังไม่มีนักคิด “ซ้ายใหม่” เท่าที่ควร ดูเหมือนว่าฝ่ายซ้ายจะมีแ่ต่นักคิด “ซ้ายเก่า” ประเภท “ซ้ายมีปม” ที่ยังไม่เข้าใจตลาดและเกลียดตลาดเสียเป็นส่วนใหญ่ (แต่จริงๆ แล้ว “ซ้าย” กับ “ขวา” ของแต่ละประเทศก็ไ่ม่ตรงกันเท่าไร และไม้บรรทัดก็เลื่อนไปมาตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ตอนนี้ “ซ้าย” กระแสหลักของอเมริกา (liberal แบบพรรคเดโมแครต) ในมุมมองของซ้ายเก่าในไทยคงบอกว่าเป็น “ขวา” เพราะของเราซ้ายกว่าของเขา ในขณะที่ “ขวา” ของเราตอนนี้ (ถ้ามองหยาบๆ ว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยมที่ “คลั่งเจ้า” หรือไม่ก็ “โหนเจ้า”) ดูจะ “ขวาจัด” พอๆ กับขวาของบุชเลย)

เลี้ยวซ้ายสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
แปลจาก Turn Left for Sustainable Growth โดย โจเซฟ สติกลิทซ์ โดย สฤณี อาชวานันทกุล เชิงอรรถเพิ่มเติมโดยผู้แปล

ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาบอกว่าพวกเขาสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นแปลว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งควรมองการตัดสินใจเลือกระหว่างสองค่ายนี้ว่า เป็นเรื่องของการเลือกทีมผู้บริหารเท่านั้นหรือเปล่า?

ถ้าเรื่องจริงง่ายอย่างนั้นก็ดีสิ! ปัญหาส่วนหนึ่งเป็นเรื่องบทบาทของโชค เศรษฐกิจของอเมริกาในทศวรรษ 1990 โชคดีจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับต่ำ อัตราการคิดค้นนวัตกรรมที่อยู่ในระดับสูง และประเทศจีนที่ผลิตสินค้าคุณภาพดีในราคาที่ต่ำลงเรื่อยๆ ปัจจัยเหล่านี้รวมกันส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง

อดีตประธานาธิบดีคลินตันและ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางไม่ควรได้รับเครดิตมากนักจากภาวะบูมช่วงนั้น ถึงแม้เราจะต้องยอมรับว่านโยบายแย่ๆ อาจรวนให้เศรษฐกิจปั่นป่วนได้ ในทางกลับกัน ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นราคาพลังงานและอาหารที่อยู่ในระดับสูง และระบบการเงินที่กำลังพังทลาย ล้วนเป็นผลจากนโยบายแย่ๆ

แน่นอน กลยุทธ์ในการเติบโตมีมากมายหลากหลาย และความแตกต่างนั้นก็น่าจะทำให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ความแตกต่างประการแรกเป็นเรื่องของวิธีมองว่า “การเติบโต” หมายถึงอะไร การเติบโตไม่ใช่แค่เรื่องของการเพิ่มจีดีพีเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนด้วย การเติบโตที่ตั้งอยู่บนการทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม มหกรรมการบริโภคที่ใช้เงินกู้เป็นหลัก หรือการช่วงชิงฉกฉวยทรัพยากรธรรมชาติที่หายากโดยปราศจากการนำกำไรที่ได้กลับไปฟื้นฟูใหม่ ล้วนเป็นการเติบโตที่ไม่ยั่งยืนทั้งสิ้น

นอกจากนี้ การเติบโตจะต้องมีผู้ได้ประโยชน์ในฐานกว้างด้วย อย่างน้อยที่สุดพลเมืองส่วนใหญ่จะต้องได้รับประโยชน์ แนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบไหลริน (trickle-down economics) นั้นใช้การไม่ได้ เพราะการเพิ่มขึ้นของจีดีพีอาจทำให้พลเมืองส่วนใหญ่มีชีวิตแย่ลงก็ได้ การเติบโตในช่วงเวลาไม่นานมานี้ของอเมริกาทั้งไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ทั้งไม่มีฐานกว้าง ชีวิตของคนอเมริกันส่วนใหญ่แย่ลงกว่าเมื่อเจ็ดปีก่อน

แต่เราไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างความไม่เท่าเทียมกันกับการเติบโต รัฐบาลสามารถส่งเสริมการเติบโตด้วยการสนับสนุนการเติบโตแบบฐานกว้าง ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของทุกประเทศคือประชากรของเขา ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องบริหารให้มั่นใจได้ว่าทุกคนจะสามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งแปลว่าจะต้องมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกคน

เศรษฐกิจสมัยใหม่ตั้งอยู่บนกิจกรรมที่มีความเสี่ยง (risk-taking) ด้วย ปัจเจกชนจะยินดีเสี่ยงมากขึ้นถ้าสังคมมีตาข่ายรองรับความปลอดภัยที่ดี ถ้าไม่มี พลเมืองก็จะเรียกร้องให้รัฐบาลคุ้มครองพวกเขาจากการแข่งขันจากต่างชาติ กลไกปกป้องทางสังคม (social protection) มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาตรการคุ้มครองธุรกิจในประเทศ (protectionism) ของภาครัฐ

ความล้มเหลวในการส่งเสริมความเหนียวแน่นในสังคมอาจมีต้นทุนอื่นๆ ด้วย รวมถึงค่าใช้จ่ายของภาครัฐและเอกชนที่จำเป็นต่อการคุ้มครองทรัพย์สินและจำคุกอาชญากร มีผู้ประเมินว่าในอีกไม่กี่ปี อเมริกาจะมีคนที่ทำงานในธุรกิจรักษาความปลอดภัยมากกว่าในภาคการศึกษา ค่าใช้จ่ายของการอยู่ในคุกหนึ่งปีอาจสูงกว่าค่าใช้จ่ายหนึ่งปีในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เราควรมองค่าใช้จ่ายในการจำคุกชาวอเมริกันสองล้านคน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในอัตราการคุมขังต่อจำนวนประชากรที่สูงที่สุดในโลก ว่าเป็นสิ่งที่ต้องลบออกจากจีดีพี แต่แล้วปัจจุบันเรากลับบวกมันเข้าไป

ความแตกต่างประการที่สองระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาเกี่ยวกับเรื่องบทบาทของรัฐในการส่งเสริมการพัฒนา ฝ่ายซ้ายเข้าใจดีว่ารัฐมีบทบาทที่สำคัญมากในการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยี และรวมทั้งการทำตัวเป็นผู้ประกอบการเสียเอง ที่ผ่านมา รัฐบาลอเมริกันเป็นผู้สร้างรากฐานของอินเทอร์เน็ตและการปฏิวัติต่างๆ ในวงการไบโอเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในศตวรรษที่สิบเก้า งานวิจัยในมหาวิทยาลัยที่รัฐสนับสนุนวางรากฐานของการปฏิวัติวงการเกษตร สมัยนั้นรัฐบาลนำความก้าวหน้าเหล่านี้ไปสู่มือเกษตรกรอเมริกันหลายล้านราย สินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดเล็กขาดไม่ได้ในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ และอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทั้งอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ

ความแตกต่างประการสุดท้ายอาจดูแปลก นั่นคือ ฝ่ายซ้ายตอนนี้เข้าใจตลาด ตลอดจนบทบาทที่ตลาดทำได้และควรทำในระบอบเศรษฐกิจ แต่ฝ่ายขวาโดยเฉพาะในอเมริกายังไม่เข้าใจ ฝ่าย “ขวาใหม่” (the New Right) ซึ่งมีรัฐบาลของบุช-เชนีย์เป็นตัวอย่าง“ขวาใหม่” มีหลายชื่อ ผู้อ่านชาวไทยรู้จักในชื่อ “neo-liberalism” (ลัทธิเสรีนิยมใหม่) มากกว่า แต่ปัจจุบันยังมีความสับสนอยู่มากระหว่าง neo-liberal กับ liberal (เสรีนิยมฝ่ายซ้าย) – ดูเชิงอรรถข้อถัดไป เป็นเพียงโฉมใหม่ของลัทธิบรรษัทนิยม (corporatism) เท่านั้น

พวกขวาใหม่ไม่ใช่นักเสรีนิยมฝ่ายขวา (libertarian)นักเสรีนิยมฝ่ายขวาหรือ libertarian คล้ายกับนักเสรีนิยมฝ่ายซ้าย (liberal) ตรงที่เชื่อมั่นในเสรีภาพของปัจเจกชนว่าเป็น “คุณค่า” ที่สำคัญที่สุด แตกต่างกันตรงที่นักเสรีนิยมฝ่ายขวามองว่ารัฐไร้ประสิทธิภาพกว่าตลาด ดังนั้นจึงควรปล่อยให้ตลาด “ดูแลตัวเอง” และจำกัดการแทรกแซงตลาดให้น้อยที่สุด ในขณะที่นักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายมองว่ารัฐเป็น “ปีศาจจำเป็น” ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้คนทั้ง “มี” เสรีภาพ และ “ใช้” เสรีภาพได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่านิยาม “เสรีภาพ” ในมุมมองของนักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายจึง “เข้ม” กว่าของฝ่ายขวา – ดูแนวคิดเรื่อง substantial freedom ของ Amartya Sen และแนวคิดที่ต่อยอดโดย Martha Nussbaum เป็นตัวอย่าง พวกขวาใหม่เชื่อในรัฐเข้มแข็งที่มีอำนาจบริหารอย่างยืดหยุ่น แต่ใช้อำนาจนั้นในทางที่คุ้มครองผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพลเดิมๆ โดยแทบไม่สนใจหลักการของตลาดเสรีเลย เรามีตัวอย่างยาวเหยียด เช่น เงินอุดหนุนที่รัฐมอบให้กับบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ กำแพงภาษีที่ปกป้องธุรกิจเหล็กกล้า และเมื่อไม่นานมานี้ เราก็เห็นมาตรการ “อุ้ม” Bear Stearns, Fannie Mae และ Freddie Mac ที่ใช้เงินภาครัฐมหาศาล แต่ความไม่สอดคล้องกันระหว่างสำนวนโวหารกับความเป็นจริงของฝ่ายขวาใหม่นั้นมีมานานแล้ว มาตรการคุ้มครองธุรกิจในประเทศขยายตัวในสมัยอดีตประธานาธิบดีเรแกน รวมถึงสิ่งที่เรียกว่า “ขีดจำกัดปริมาณการส่งออกตามความสมัครใจ” (voluntary export restraints) ที่ใช้กับรถญี่ปุ่น

ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายซ้ายใหม่กำลังพยายามทำให้ตลาดทำงานได้ ตลาดเสรีที่ไร้การกำกับดูแลใดๆ ทั้งสิ้นทำงานไม่ได้ดีด้วยตัวมันเอง นี่เป็นบทสรุปที่หายนะของภาคการเงินในวันนี้ตอกย้ำให้เห็น คนทั้งหลายที่ปกป้องตลาดเสรีบางครั้งก็ยอมรับว่าตลาดล้มเหลวได้ และบางครั้งก็ล้มเหลวอย่างรุนแรงด้วย แต่พวกเขาอ้างว่าตลาด “แก้ไขตัวเอง” (self-correction) ได้ ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง (Great Depression [ในทศวรรษ 1930]) เราก็ได้ยินข้ออ้างทำนองนี้ หลายคนบอกว่ารัฐบาลไม่ต้องทำอะไรหรอก เพราะในระยะยาวตลาดจะปรับตัว ฟื้นฟูเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะจ้างงานเต็มศักยภาพ (full employment) อีกครั้งหนึ่ง แต่ความเป็นจริงก็เหมือนกับวาทะอันโด่งดังของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) – ในระยะยาวเราก็ตายกันหมดแล้ว

ตลาดแก้ไขตัวเองไม่ได้ภายในช่วงเวลาที่มีความหมาย ไม่มีรัฐบาลประเทศไหนที่สามารถนั่งเฉยๆ รอดูเศรษฐกิจไถลเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือถดถอยอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่ามันอาจเกิดจากความโลภเกินตัวของนายธนาคารหรือการประเมินความเสี่ยงผิดพลาดของตลาดหลักทรัพย์และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ถ้ารัฐบาลจะต้องเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ระบอบเศรษฐกิจ พวกเขาก็ต้องทำงานในทางที่จะทำให้มีแนวโน้มน้อยลงที่เศรษฐกิจจะต้องเข้าโรงพยาบาลในอนาคต คาถา “ผ่อนปรนกฎเกณฑ์” (deregulation) ของฝ่ายขวาเป็นคาถาที่ผิดเต็มประตู และตอนนี้เราก็กำลังจ่ายราคาของความผิดพลาด ราคาที่จะมีมูลค่าสูงมากในแง่ของผลผลิตที่สูญไป อาจจะสูงถึง $1.5 ล้านล้านในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว

ฝ่ายขวาชอบโยงรากความคิดของพวกเขากลับไปยังอดัม สมิธ (Adam Smith) แต่ถึงแม้ว่าสมิธจะตระหนักดีถึงพลังของตลาด เขาก็ตระหนักในขีดจำกัดของตลาดดีไม่แพ้กัน กระทั่งในยุคสมัยของเขาเอง ธุรกิจต่างๆ ก็ค้นพบว่าสามารถเพิ่มผลกำไรด้วยการ “ฮั้ว” กันขึ้นราคา และวิธีนี้ก็ง่ายกว่าการผลิตสินค้าที่เปี่ยมนวัตกรรมในทางที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม เราจำเป็นต้องมีกฎหมายป้องกันการผูกขาดที่เข้มงวด

การจัดงานรื่นเริงนั้นเป็นเรื่องง่าย ทุกคนจะรู้สึกเฮฮาสนุกสนานได้ชั่วคราว แต่การส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนนั้นยากเย็นกว่ากันมาก วันนี้ ฝ่ายซ้ายมีวาระที่ชัดเจน ไม่เหมือนกับฝ่ายขวา วาระที่นำเสนอไม่เพียงแต่การเติบโตที่สูงขึ้น แต่การเติบโตที่จะส่งมอบความเป็นธรรมทางสังคมในขณะเดียวกันด้วย สำหรับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งแล้ว การตัดสินใจครั้งนี้น่าจะเป็นเรื่องง่าย.