เมื่อวานตอนเย็น ขณะที่กำลังฉลองตรุษจีนกับครอบครัวและเพื่อนพ่อแม่อยู่ดีๆ (ด้วยการเีถียงกันใหญ่โตจนดูเหมือนทะเลาะกันแต่กำลัง “อิน” เรื่องผลการตัดสินของศาลฎีกา ในกรณี ช.การช่าง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าศาลตัดสิน “เกินเลยฐานความผิด” ไปมากๆ และกำลังจะส่งผลเสียมากมายต่อภาคธุรกิจในอนาคต…. เอาไว้เดี๋ยวจะเรียบเรียงประเด็นมาเล่า) โทรศัพท์มือถือของหลายๆ คนก็ปรากฏ SMS ขึ้นมารายงานว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกวางระเบิดกว่า 25 จุด
บรรยากาศก็เลยเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเราทุกคนหันไปจ้องทีวีตาไม่กระพริบ ดูตัวเลขคนตายและคนบาดเจ็บค่อยๆ ขยับขึ้น จาก 3… 4… 6… ท่ามกลางเีสียงเนือยๆ ของผู้ประกาศข่าวที่ใช้คำศัพท์ที่ทำให้รู้สึกสะท้อนใจไม่น้อย เช่น
“ที่อำเภอนี้ยังไม่มีคนตาย…”
“ตอนนี้มีคนบาดเจ็บสาหัส 1 คน นอนพะงาบๆ อยู่…”
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้บาดเจ็บ และญาติพี่น้องของผู้ตายจากวินาศกรรมอันโหดเหี้ยมในครั้งนี้
รู้สึกเจ็บใจที่ตัวเองทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าคำ่ว่า “เสียใจ” …แต่อย่างน้อย ก็ขอถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ “สื่อทางเลือก” 3 แห่ง ที่ตัวเองพยายามเข้าไปอ่านบ่อยๆ เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะ “สื่อทางเลือก” เหล่านี้ นำเสนอข่าวสถานการณ์ในภาคใต้อย่างตรงไปตรงมา และครบถ้วนทุกแง่มุมมากกว่า “สื่อกระแสหลัก” หลายเท่า:
เมื่อวานตอนเย็น ขณะที่กำลังฉลองตรุษจีนกับครอบครัวและเพื่อนพ่อแม่อยู่ดีๆ (ด้วยการเีถียงกันใหญ่โตจนดูเหมือนทะเลาะกันแต่กำลัง “อิน” เรื่องผลการตัดสินของศาลฎีกา ในกรณี ช.การช่าง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าศาลตัดสิน “เกินเลยฐานความผิด” ไปมากๆ และกำลังจะส่งผลเสียมากมายต่อภาคธุรกิจในอนาคต…. เอาไว้เดี๋ยวจะเรียบเรียงประเด็นมาเล่า) โทรศัพท์มือถือของหลายๆ คนก็ปรากฏ SMS ขึ้นมารายงานว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกวางระเบิดกว่า 25 จุด
บรรยากาศก็เลยเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเราทุกคนหันไปจ้องทีวีตาไม่กระพริบ ดูตัวเลขคนตายและคนบาดเจ็บค่อยๆ ขยับขึ้น จาก 3… 4… 6… ท่ามกลางเีสียงเนือยๆ ของผู้ประกาศข่าวที่ใช้คำศัพท์ที่ทำให้รู้สึกสะท้อนใจไม่น้อย เช่น
“ที่อำเภอนี้ยังไม่มีคนตาย…”
“ตอนนี้มีคนบาดเจ็บสาหัส 1 คน นอนพะงาบๆ อยู่…”
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้บาดเจ็บ และญาติพี่น้องของผู้ตายจากวินาศกรรมอันโหดเหี้ยมในครั้งนี้
รู้สึกเจ็บใจที่ตัวเองทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าคำ่ว่า “เสียใจ” …แต่อย่างน้อย ก็ขอถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ “สื่อทางเลือก” 3 แห่ง ที่ตัวเองพยายามเข้าไปอ่านบ่อยๆ เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะ “สื่อทางเลือก” เหล่านี้ นำเสนอข่าวสถานการณ์ในภาคใต้อย่างตรงไปตรงมา และครบถ้วนทุกแง่มุมมากกว่า “สื่อกระแสหลัก” หลายเท่า:
- ศูนย์ข่าวอิศรา
- Deep South Watch (ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้)
- Al Jazeera (English website)
ยกตัวอย่างบางประเด็นที่น่าสนใจ จากบทสัมภาษณ์นาย วันกาเดร์ เจ๊ะมาน ประธานกลุ่ม “เบอร์ซาตู” โดย Al Jazeera ซึ่งมติชนแปลบางส่วนเป็นภาษาไทย ดังต่อไปนี้:
นายวันกาเดร์ เจ๊ะมาน กล่าวหาว่ารัฐบาลไทยมิได้ต้องการสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะถึงแม้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เดินทางลงมาจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ยังไม่เคยได้พูดคุยกับหัวหน้ากลุ่มต่างๆ ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เลยแม้แต่ครั้งเดียว
ประธานกลุ่มเบอร์ซาตูยังกล่าวด้วยว่า การพบปะมวลชน รวมถึงการกล่าวคำขอโทษของนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงแค่ “โฆษณาชวนเชื่อ”
กลุ่มเบอร์ซาตูประกอบด้วยขบวนการแบ่งแยกดินแดนอีก 3 กลุ่ม ได้แก่ บีไอพีพี พูโล และบีอาร์เอ็น-โดออร์ดิเนต โดยก่อนหน้านี้บีอาร์เอ็น-คองเกรส เป็นสมาชิกร่วมอยู่ด้วย แต่เพิ่งแยกตัวออกมาในภายหลัง
อย่างไรก็ดี การออกมาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัล-จาซีราในครั้งนี้ นายวันกาเดร์ เจ๊ะมาน ได้ให้ข้อมูลสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งชี้ถึงความหลากหลายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน
โดยยอมรับว่าฝ่ายที่เคลื่อนไหวสร้างความรุนแรง คือ “กลุ่มนักรบรุ่นใหม่” ซึ่งส่วนใหญ่อายุน้อยและมีความแน่วแน่ในการประกาศอิสรภาพ เพื่อสถาปนาก่อตั้งรัฐอิสลามปัตตานี คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการเจรจากับรัฐบาล เนื่องจากประเมินสถานการณ์ปัจจุบันว่าตนเองกำลังเป็นฝ่ายได้เปรียบ นอกจากนี้ กลุ่มนักรบรุ่นใหม่ยังมีทั้งอาวุธและเงินทุน รวมทั้งฝังตัวเป็นไส้ศึกอยู่ในหน่วยงานของรัฐบาลไทยอีกด้วย
ที่สำคัญ นายวันกาเดร์ เจ๊ะมาน กล่าวยอมรับด้วยว่า กิจกรรมต่างๆ ของคนกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยา (เจไอ) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัล-เคด้า
วิถีทางในการแก้ไขปัญหา จึงอยู่ที่ว่ารัฐบาลไทยควรใช้ช่องทางพูดคุยเจรจากับเหล่าแกนนำของขบวนการระดับอาวุโสเสียก่อน โดยอาศัยขั้นตอนแผนสันติภาพที่นายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เริ่มต้นปูทางเอาไว้แล้ว
ประเด็นสำคัญ ที่ประธานกลุ่มเบอร์ซาตูพยายามย้ำเตือนอยู่ตลอดเวลาคือ การรักษา “อัตลักษณ์” ความเป็นมลายูมุสลิมของประชาชนบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปฏิเสธทั้งวัฒนธรรมความเป็นไทยและไม่สามารถยอมรับประวัติศาสตร์ชาติทมีอยู่ร่วมกันได้
แม้กระนั้น นายวันกาเดร์ เจ๊ะมาน อาจลืมไปว่านอกจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนไม่ว่า “กลุ่มเก่า” หรือ “กลุ่มใหม่” ประชาชนส่วนใหญ่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังประกอบด้วยชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิมและอื่นๆ อีกมากมาย ร่วมพำนักอาศัยอยู่ในพื้นที่ด้วย.