ทรายเนื้อละเอียดบนหาดดอนสำราญ ภาพที่อาจกลายเป็นอดีต?
เมื่อวานผู้เขียนไปร่วมงานของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งจัดพิธีมอบเหรียญเจริญ วัดอักษร ให้กับชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้ยืนหยัดต่อสู้กับเครือสหวิริยา กลุ่มทุนผู้ผลิตเหล็กกล้าอันดับหนึ่งของประเทศ ที่ต้องการสร้างโรงถลุงเหล็กและโครงการเกี่ยวเนื่องต่างๆ มูลค่า 500,000 ล้านบาท ในเขตป่าพรุในตำบลแม่รำพึง ป่าชุ่มน้ำผืนท้ายๆ ที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย ความขัดแย้งครั้งนี้ยืดเยื้อมาเป็นปีแล้ว และทำท่าว่าจะบานปลายออกไปเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านในพื้นที่เองก็แตกแยกออกเป็นกลุ่มคัดค้านกับกลุ่มสนับสนุนอย่างชัดเจน และบริษัทก็ยืนกรานที่จะดันให้โครงการนี้เกิดให้ได้ (ซึ่งเมื่อมองในแง่ธุรกิจแล้วก็เข้าใจได้ เพราะราคาเหล็กกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณความต้องการโดยเฉพาะจากอินเดียและจีน นอกจากนี้ คู่แข่งสำคัญของบริษัทอย่าง ทาทา สตีล จากอินเดีย ซึ่งได้เทคโอเวอร์มิลเลนเนียม สตีล แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ทาทา สตีล (ประเทศไทย)” ก็เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ให้ลงทุนสร้างโรงถลุงเหล็กขนาดกลางในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี นับเป็น “โครงการเหล็กต้นน้ำ” โครงการแรกของประเทศ)
เนื่องจากผู้เขียนเพิ่งเขียนเรื่องแนวคิด “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) ในตอนล่าสุดของคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” และคิดว่ากรณีความขัดแย้งที่แม่รำพึงเป็น “กรณีศึกษา” ที่ดีของแนวคิดนี้ จึงอยากจะเก็บข้อมูล ข้อคิด และประเด็นต่างๆ ที่ได้รับอย่างล้นเหลือมาเมื่อวานไปเขียนในคอลัมน์นั้นแทน คาดว่าคงจะได้ฤกษ์เขียนภายในหนึ่งเดือนนับจากนี้ อยากจะยกกรณีศึกษาของต่างประเทศมาเป็นตัวอย่างก่อน จะได้เห็นชัดว่าเราล้าหลังเขาอย่างไรและขนาดไหน
วันนี้ก็เลยขอแบ่งปันภาพบางภาพที่ไปถ่ายมาเมื่อวาน (ดูทุกรูปได้ที่ เซ็ตแม่รำพึงใน Flickr) และตั้งคำถามบางคำถามไปพลางๆ ก่อน ขออภัยที่ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานหรือความคิดอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ขอเก็บไว้เขียนลงคอลัมน์ในประชาชาติดีกว่า 🙂
หาดบ่อทองหลาง “ห้องรับแขก” ของคนบางสะพาน ดูสวยงามเมื่อมองจากมุมนี้….
ทรายเนื้อละเอียดบนหาดดอนสำราญ ภาพที่อาจกลายเป็นอดีต?
เมื่อวานผู้เขียนไปร่วมงานของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งจัดพิธีมอบเหรียญเจริญ วัดอักษร ให้กับชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้ยืนหยัดต่อสู้กับเครือสหวิริยา กลุ่มทุนผู้ผลิตเหล็กกล้าอันดับหนึ่งของประเทศ ที่ต้องการสร้างโรงถลุงเหล็กและโครงการเกี่ยวเนื่องต่างๆ มูลค่า 500,000 ล้านบาท ในเขตป่าพรุในตำบลแม่รำพึง ป่าชุ่มน้ำผืนท้ายๆ ที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย ความขัดแย้งครั้งนี้ยืดเยื้อมาเป็นปีแล้ว และทำท่าว่าจะบานปลายออกไปเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านในพื้นที่เองก็แตกแยกออกเป็นกลุ่มคัดค้านกับกลุ่มสนับสนุนอย่างชัดเจน และบริษัทก็ยืนกรานที่จะดันให้โครงการนี้เกิดให้ได้ (ซึ่งเมื่อมองในแง่ธุรกิจแล้วก็เข้าใจได้ เพราะราคาเหล็กกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณความต้องการโดยเฉพาะจากอินเดียและจีน นอกจากนี้ คู่แข่งสำคัญของบริษัทอย่าง ทาทา สตีล จากอินเดีย ซึ่งได้เทคโอเวอร์มิลเลนเนียม สตีล แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ทาทา สตีล (ประเทศไทย)” ก็เพิ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ให้ลงทุนสร้างโรงถลุงเหล็กขนาดกลางในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี นับเป็น “โครงการเหล็กต้นน้ำ” โครงการแรกของประเทศ)
เนื่องจากผู้เขียนเพิ่งเขียนเรื่องแนวคิด “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) ในตอนล่าสุดของคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” และคิดว่ากรณีความขัดแย้งที่แม่รำพึงเป็น “กรณีศึกษา” ที่ดีของแนวคิดนี้ จึงอยากจะเก็บข้อมูล ข้อคิด และประเด็นต่างๆ ที่ได้รับอย่างล้นเหลือมาเมื่อวานไปเขียนในคอลัมน์นั้นแทน คาดว่าคงจะได้ฤกษ์เขียนภายในหนึ่งเดือนนับจากนี้ อยากจะยกกรณีศึกษาของต่างประเทศมาเป็นตัวอย่างก่อน จะได้เห็นชัดว่าเราล้าหลังเขาอย่างไรและขนาดไหน
วันนี้ก็เลยขอแบ่งปันภาพบางภาพที่ไปถ่ายมาเมื่อวาน (ดูทุกรูปได้ที่ เซ็ตแม่รำพึงใน Flickr) และตั้งคำถามบางคำถามไปพลางๆ ก่อน ขออภัยที่ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานหรือความคิดอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ขอเก็บไว้เขียนลงคอลัมน์ในประชาชาติดีกว่า 🙂
หาดบ่อทองหลาง “ห้องรับแขก” ของคนบางสะพาน ดูสวยงามเมื่อมองจากมุมนี้….
…แต่เมื่อเดินอ้อมมาอีกฝั่ง ก็เห็นท่าเรือน้ำลึกของเครือสหวิริยาอย่างชัดเจน บดบังทัศนียภาพจนมิด นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนบางสะพานไม่ค่อยนิยมมาเที่ยวหาดนี้แล้ว
ท่าเรือน้ำลึก ซูมให้เห็นชัดว่าเป็นหินทึบ ไม่ใช่สะพานโปร่งที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำ…
…กระแสน้ำที่เปลี่ยนไปหลังจากที่ท่าเรือสร้างเสร็จ ส่งผลให้การกัดเซาะชายฝั่งทวีความรุนแรงขึ้น รูปนี้เป็นสภาพตลิ่งหลังวัดบ่อทองหลาง ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้วเป็นร้อยเมตรจนต้องสร้างเขื่อนกัน เครือสหวิริยาวางแผนจะต่อท่าเรือน้ำลึกออกไปอีก 2 กิโลเมตร เมื่อสร้างโรงถลุงเหล็กแล้ว ลองคิดดูว่าชายฝั่งจะได้รับผลกระทบอีกขนาดไหน ไม่นับชายหาดอันสวยงามของบ้านกรูดและดอนสำราญที่อยู่เลยขึ้นไปทางทิศเหนือ ซึ่งสวยงามจนทำให้ผู้เขียนคิดถึงหัวหินสมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
สภาพป่าพรุแม่รำพึง ป่าสาธารณะที่ถูกรถแทร็กเตอร์บุกรุกที่ ไถทำลายเข้าไปเป็นทางยาว ทั้งๆ ที่ปมปัญหาเรื่องบริษัทมีเอกสารสิทธิไม่ถูกต้องยังไม่คลี่คลาย (และก็ถูกกรมที่ดินสั่งเพิกถอนไปแล้วบางแปลง)
อาจารย์สมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มอบเหรียญเจริญ วัดอักษร ให้กับกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง ในภาพคือคุณวิฑูรย์ บัวโรย หนึ่งในแกนนำชาวบ้านผู้คัดค้าน
คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ให้เกียรติมาบรรยายที่งาน พูดได้ดีมากและสนุกมากตลอดเวลา 30 นาที โดยเฉพาะประเด็นที่คุณสุจิตต์บอกว่า “ปัญหาทั้งหมดเกิดจากไอ้คำว่า “เพื่อชาติ” นั่นแหละ” ผู้เขียนอัดเทปมาด้วย ดาวน์โหลดไฟล์เสียงไปฟังได้จากที่นี่ [14.5MB, WMA format]
การเรียกร้องให้ “การพัฒนา” เห็นหัวคนจน เป็น “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่มีมาตรการปกป้อง บรรเทา และชดเชยความเสียหายให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่สุดที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนอธิบายหลักการและเหตุผลที่จะ “ต้องสร้างที่นี่” ที่ “ฟังขึ้น” แทนที่จะตราหน้าชาวบ้านแบบมักง่ายและอวดเบ่งว่า “โง่” และ “ขวางความเจริญ” เป็นเรื่องผิดตรงไหน?
สำหรับคนกรุงเทพฯ ที่อาจไม่เข้าใจว่าชาวบ้านแม่รำพึงเดือดร้อนอย่างไร ลองจินตนาการว่าอยู่ดีๆ ก็มีรถแทร็กเตอร์มาพังตึกสำนักงานใกล้บ้านที่เราเดินไปทำงานทุกวัน ซึ่งเป็นตึกที่ไม่มีเจ้าของแต่ทุกคนในละแวกนั้นใช้เป็นที่ทำงานร่วมกัน ช่วยกันดูแลมาหลายสิบปี คนขับรถแทร็กเตอร์คันนั้นบอกว่า ต้องพังตึกนี้ทิ้งเพราะจะสร้างโรงถลุงเหล็กที่มีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ จะช่วยเพิ่มจีดีพีให้ประเทศไทยได้อีกหลายเปอร์เซ็นต์ ถ้าอยากเห็นประเทศเจริญก็จงไปหางานทำที่อื่นซะ อย่าโวยวาย อย่าบ่น อ๋อ ค่าชดเชยน่ะเหรอ ไม่มีให้หรอก เพราะคนไทยทุกคนควรเสียสละ “เพื่อชาติ” กันทั้งนั้น ไหน ว่าไงนะ ตึกนี้ไม่มีเจ้าของงั้นเหรอ ไม่จริงหรอก บริษัทเรานั่นแหละเป็นเจ้าของมาตลอด แต่ไม่มีใครรู้เท่านั้นเอง…
ถ้าการสูญเสียตึกที่ทำมาหากินแบบไร้ความเป็นธรรมเป็นเรื่องน่าแค้นใจ ลองคิดดูว่าการสูญเสียป่าพรุอันอุดมสมบูรณ์ไปทั้งผืน ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้คนนับหมื่นต้องสูญเสียวิถีชีวิตเท่านั้น หากจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ในวงกว้าง แลกกับตัวเลขรายได้ทางเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับมลพิษอันตราย ทั้งๆ ที่รัฐมีทางเลือกที่จะพัฒนาแบบอ่อนโยนได้ (เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ) จะสมควรเป็นเรื่องน่าแค้นกว่ากันขนาดไหน?
โปรดติดตามเรื่องนี้ต่อได้ในคอลัมน์ “ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์” ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และโอเพ่นออนไลน์ ไม่นานเกินรอ
(ท่านใดที่อยากอ่านความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้จากนักคิดนักเขียนที่ “เห็นต่าง” จากกลุ่มทุน ขอแนะนำ – การเมืองหรือธุรกิจของโซ่ข้อกลาง โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ (พยากรณ์ความรุนแรงในพื้นที่ได้ราวกับตาเห็น เพียงหนึ่งเดือนหลังจากที่อาจารย์เขียนบทความนี้ ก็เกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านจนทำให้ชาวบ้านคนหนึ่งถึงแก่ชีวิต), ความฝันของชาวบางสะพาน กับความฝันของสหวิริยา และ อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก คำถามถึงสภาพัฒน์ โดย วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ และถ้าท่านอยากอ่านสรุปดีๆ เกี่ยวกับความบกพร่องของกระบวนการทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มันเป็น “ปาหี่” มาตลอด ขอแนะนำให้อ่านบทความเรื่อง EIA: ตัวช่วยการพัฒนา (ต่างหาก) ในประชาไท)